พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเมีย (ปีม้า) ที่ควรมีโอกาสไปกราบสักการะ

พระธาตุประจำปีมะเมีย
พระธาตุประจำปีมะเมีย

พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเมีย (ปีม้า)

พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง (ประเทศพม่า)

พระธาตุประจำปีเกิด


ขอบคุณข้อมูลจาก Ayurveda

พระธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และสถานที่ หรือ พระเจดีย์ที่มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ดังนั้น และในชีวิตของเรา ครั้งหนึ่งควรหาโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต


คติการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด
เมื่อคนเราตายไปดวงวิญญาณจะสิงสถิต ที่พระธาตุประจำปีเกิดของแต่ละคนก่อนที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์เพราะฉะนั้นควรจะไปนมัสการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

เพราะเหตุใด พระธาตุประจำปีเกิดจึงต้องอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
ในสมัยก่อน อาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพม่า ต่างเป็นแว่นแคว้นข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันมาก่อน การกำหนดให้มีการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดจึงเป็นกลไกอย่างหนึ่งของการเดินทางติดต่อกันทำให้คนแต่ละเมืองที่อยู่ในเขตวัฒนธรรมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันได้อย่างใกล้ชิดขึ้น

หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนต่างก็ให้ความสำคัญต่อ พระบรมสารีริกธาตุ หรือ กระดูกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระบรมธาตุ หรือ พระธาตุ เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเศษส่วนจากพระวรกายที่เหลืออยู่ไม่มากนัก จึงทำให้ต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในสมัยโบราณมีการประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ใต้เนินดินรูปครึ่งวงกลม แล้วปักฉัตรไว้ด้านบนเพื่อยกย่องและแสดงเกียรติยศของผู้ตายตามธรรมเนียมอินเดียโบราณ

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดและแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุออกไปบูชายังเมืองต่าง ๆ ทำให้มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุขึ้นทั่วไป โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น สถูปเจดีย์สำคัญของบ้านเมืองต่าง ๆ ล้วนได้รับการอธิบายว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมธาตุ

ฉะนั้นบางครั้งจึงนิยมเรียกสถูปเจดีย์เหล่านั้นว่า พระธาตุ ซึ่งหมายถึง พระบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ภายในสถูปเจดีย์นั่นเอง ดังนั้น การไหว้สถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะมีรูปทรงงดงามแปลกพิศดารเพียงใดก็ตาม แต่หัวใจของการไหว้ที่แท้จริงแล้วก็คือ การกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าที่บรรจุอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ดังนั้น การสักการะจึงควรกระทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศตัณหา และที่สำคัญ ต้องระลึกเสมอว่า พระบรมธาตุไม่ใช่ผู้บันดาลสิ่งต่าง ๆ จึงไม่ควรขอสิ่งใดนอกจากสวัสดิมงคล

ในล้านนาทำไมต้องห้ามผู้หญิงขึ้นบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์
เนื่องจากในสมัยโบราณนิยมบรรจุพระบรมธาตุไว้ในกรุที่อยู่ใต้เจดีย์ เมื่อมีความเชื่อว่าผู้หญิงเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์จากการมีรอบเดือน ทำให้มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงอยู่เหนือพระบรมธาตุ แม้ในระยะผิวดินด้านบนก็ตาม ไม่เช่นนั้น จะทำให้พระบรมธาตุเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และไม่แสดงปาฏิหาริย์อีกต่อไป การห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นไปบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่เข้าใจกันดีในหมู่ชาวล้านนา ป้ายที่ติดไว้ตามศาสนสถานสำคัญ ๆ ของชาวล้านนาจึงมีไว้เตือนคนต่างถิ่นให้ทราบและปฏิบัติตาม

 

ปีมะเมีย (ปีม้า)

พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง (ประเทศพม่า) , พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย (ลำพูน) ,

เจดีย์พระบรมธาตุเจดีย์ (ตาก)

พระธาตุประจำปีเกิด
zoom

ปีมะเมีย เป็นปีที่เจ็ดของปีนักษัตร (ธาตุไฟ) มีสัญลักษณ์เป็นรูป “ม้า” พระธาตุนี้จะได้แก่ พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง แห่งเมืองย่างกุ้ง ประเทศ (พม่า) เจดีย์นี้มีการต่อเติมมากมายหลายครั้ง ทำให้รูปแบบพัฒนาไปเรื่อย ๆ ลักษณะสุดท้ายได้มีลักษณะเป็นศิลปะพม่าอย่างเต็มที่ และมีอายุร่วมสมัยทางศิลปะกับรัตนโกสินทร์ตอนต้น จากเดิมที่เป็นงานศิลปะมอญ ยังมีพระธาตุเจดีย์ชเวดากอง แบบจำลองชื่อว่า พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย จังหวัดลำพูน และเจดีย์พระบรมธาตุเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก เพื่อให้ผู้ที่ศรัทธาสามารถมากราบสักการะได้ง่ายขึ้น

พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง (ประเทศพม่า) ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ขณะที่เสด็จประทับอยู่ใต้ต้นเกด มีพ่อค้าพี่น้องสองคนชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ มีความเลื่อมใส ถวายข้าวสัตตูให้เสวย แล้วถวายตัวเป็น ปฐมอุบาสก ในพระพุทธศาสนา ครั้นเมื่อจะจากไป กราบทูลขอให้พระพุทธองค์ ประทานสิ่งอันใด ไปเป็นอนุสรร์ สำหรับบูชาพระพุทธคุณ สักสิ่งหนึ่ง พระมหากรุณาเจ้า จึงเสยพระเศียร ได้พระเกศา 8 เส้น ประทานอุบาสกทั้ง สองตามความปรารถนา (หนังสือปฐมสมโพธิ ตอนอภิสัมโพธิสัพพัญญูปริวัตร) ต่อมามอญ เอามาตั้งเป็นตำนานพระเกศธาตุต่อว่า…”พ่อค้าอุบาสกสองคนนั้น เชิญพระเกศาพระพุทธเจ้า มายังเมืองมอญ แล้วสร้างพระเจดีย์ ที่บนยอดเนินตะเกิงบรรจุพระเกศาไว้ ตั้งแต่ในพระพุทธกาล พระเจดีย์ได้นามว่า “พระเกศธาตุ”

พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย (ลำพูน)

พระธาตุประจำปีเกิด

พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน) คล้ายเจดีย์ชเวดากองจำลอง เป็นสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาศิลปะล้านนาที่สร้างด้วย ศิลาแลง ทั้งองค์ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ฐานกว้าง 40 x 40 หรือ ประมาณ 1 ไร่ ส่วนสูงจากบัวยอดฉัตรลงมาถึงพื้นยาว 64.71 เมตรมีพระเจดีย์องค์เล็กรายล้อม 48 องค์ ผู้ริเริ่มให้มีการออกแบบและการสร้างคือ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา เพื่อให้เป็นพุทธเจดีย์ของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์อันจะเป็นพุทธเจดีย์ของภัทรกัปให้ลูกหลานคนไทยได้กราบไหว้เป็นแห่งแรกของประเทศไทยและเป็นแห่งที่สองของโลก

เจดีย์พระบรมธาตุเจดีย์ (ตาก)

พระธาตุประจำปีเกิด

เจดีย์พระบรมธาตุเจดีย์ (วัดพระบรมธาตุ จ.ตาก) ซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของปีมะเมีย ในช่วงวันขึ้น 14 และ 15 ค่ำเดือนเก้าของชาวภาคเหนือ ชาวอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตะเภา จะจัดงานบุญที่ยิ่งใหญ่ คือประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยจัดขบวนแห่ผ้าห่มธาตุ ซึ่งประกอบด้วยขบวนกลองยาว ขบวนต้นเงินต้นทอง ขบวนตุงไชย ธงทิวและเครื่องพุทธบูชา จากบริเวณหนองเล่ม เคลื่อนผ่านสะพานบุญ ซึ่งเป็นสะพานไม้ยาวประมาณ 200 เมตรขึ้นไปทำพิธีห่มพระบรมธาตุ จากนั้นจะเป็นพิธีการบวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถี เจดีย์ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างไว้ในคราวทำสงครามยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดและพิธีชุมนุมเจ้า 108 องค์ จากทั่วทุกสารทิศ และ มีพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก ๓๒ นิ้ว และลงรักปิดทองคำเปลว ก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก ๑ วัน กับ ๑ คืน เสร็จพอดี โดยคณะศรัทธาได้ตั้งชื่อว่า “พระเจ้าทันใจ” เพราะทำเสร็จเร็วทันใจ ต่อมามีญาติโยมได้มาตั้งจิตอธิษฐาน ขออะไรก็ได้สมความปรารถนา ทุกสิ่งทุกประการ นับเวลาจนปัจจุบันประมาณ ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว

คำบทสวดบูชาพระธาตุ ประจำปีมะโรง (ตั้งนโม 3 จบ)

สัมมา สัมพุทธะ นะลาตะอัฎฐิ
จะตุเกสาธาตุยา คันธะวะรังฐิตัง
ปะระมาธาตุ เจติยัง
อะหังวันทามิ สัพพะทา