พระธาตุประจำปีเกิด ปีวอก (ปีลิง) แห่งวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

พระธาตุประจำปีวอก
พระธาตุประจำปีวอก

พระธาตุประจำปีเกิด ปีวอก (ปีลิง)

พระธาตุประจำปีเกิด


ขอบคุณข้อมูลจาก Ayurveda

พระธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และสถานที่ หรือ พระเจดีย์ที่มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ดังนั้น และในชีวิตของเรา ครั้งหนึ่งควรหาโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต


คติการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด
เมื่อคนเราตายไปดวงวิญญาณจะสิงสถิต ที่พระธาตุประจำปีเกิดของแต่ละคนก่อนที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์เพราะฉะนั้นควรจะไปนมัสการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

เพราะเหตุใด พระธาตุประจำปีเกิดจึงต้องอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
ในสมัยก่อน อาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพม่า ต่างเป็นแว่นแคว้นข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันมาก่อน การกำหนดให้มีการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดจึงเป็นกลไกอย่างหนึ่งของการเดินทางติดต่อกันทำให้คนแต่ละเมืองที่อยู่ในเขตวัฒนธรรมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันได้อย่างใกล้ชิดขึ้น

หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนต่างก็ให้ความสำคัญต่อ พระบรมสารีริกธาตุ หรือ กระดูกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระบรมธาตุ หรือ พระธาตุ เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเศษส่วนจากพระวรกายที่เหลืออยู่ไม่มากนัก จึงทำให้ต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในสมัยโบราณมีการประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ใต้เนินดินรูปครึ่งวงกลม แล้วปักฉัตรไว้ด้านบนเพื่อยกย่องและแสดงเกียรติยศของผู้ตายตามธรรมเนียมอินเดียโบราณ

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดและแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุออกไปบูชายังเมืองต่าง ๆ ทำให้มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุขึ้นทั่วไป โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น สถูปเจดีย์สำคัญของบ้านเมืองต่าง ๆ ล้วนได้รับการอธิบายว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมธาตุ

ฉะนั้นบางครั้งจึงนิยมเรียกสถูปเจดีย์เหล่านั้นว่า พระธาตุ ซึ่งหมายถึง พระบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ภายในสถูปเจดีย์นั่นเอง ดังนั้น การไหว้สถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะมีรูปทรงงดงามแปลกพิศดารเพียงใดก็ตาม แต่หัวใจของการไหว้ที่แท้จริงแล้วก็คือ การกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าที่บรรจุอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ดังนั้น การสักการะจึงควรกระทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศตัณหา และที่สำคัญ ต้องระลึกเสมอว่า พระบรมธาตุไม่ใช่ผู้บันดาลสิ่งต่าง ๆ จึงไม่ควรขอสิ่งใดนอกจากสวัสดิมงคล

ในล้านนาทำไมต้องห้ามผู้หญิงขึ้นบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์
เนื่องจากในสมัยโบราณนิยมบรรจุพระบรมธาตุไว้ในกรุที่อยู่ใต้เจดีย์ เมื่อมีความเชื่อว่าผู้หญิงเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์จากการมีรอบเดือน ทำให้มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงอยู่เหนือพระบรมธาตุ แม้ในระยะผิวดินด้านบนก็ตาม ไม่เช่นนั้น จะทำให้พระบรมธาตุเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และไม่แสดงปาฏิหาริย์อีกต่อไป การห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นไปบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่เข้าใจกันดีในหมู่ชาวล้านนา ป้ายที่ติดไว้ตามศาสนสถานสำคัญ ๆ ของชาวล้านนาจึงมีไว้เตือนคนต่างถิ่นให้ทราบและปฏิบัติตาม

 

ปีวอก (ปีลิง) – พระธาตุพนม (นครพนม)

พระธาตุประจำปีเกิด
zoom

ปีวอก เป็นปีที่เก้าของปีนักษัตร (ธาตุทอง) มีสัญลักษณ์เป็นรูป "ลิง" พระธาตุประจำปีเกิดนี้เป็นพระธาตุที่แตกต่างไปจากพระธาตุอื่น ๆ ที่กล่าวมา นั่นคือ พระธาตุพนม แห่งวัดพระธาตุพนม อ.นครพนม จ.นครพนม พระธาตุนี้เป็นพระธาตุที่มีความสำคัญต่อประชาชนทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง เป็นพระธาตุที่มีลักษณะพื้นเมืองของอาณาจักรโคตรบูรณ์โบราณได้มีการปรับปรุงมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยอยุธยา ในปีพุทธศักราช 2517 ได้ล้มลงยังความเศร้าโศกแก่ประชาชนชาวไทย – ลาว เป็นอย่างมาก ต่อมาได้บูรณะปฏิสังขรณ์ ตามลักษณธเดิมแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2519

ประวัติพระธาตุพนม (วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จ.นครพนม) เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน ประดิษฐานบนเนินที่เรียกว่าภูกำพร้า ปัจจุบันเป็นบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมราว 52 กิโลเมตร พระธาตุพนมสร้างขึ้นแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ประมาณ พ.ศ. 8 โดยเจ้าเมือง 5 องค์คือ พระยาสุวรรณภิงคารนะ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร พระยาจุลนีพรหมทัต และพระยานันทเสน เพื่อบรรจุพระอุงรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ลักษณะพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม หรือทรงแจกัน ก่อด้วยอิฐมีลวดลายจำหลักลงไปในแผ่นอิฐ มีซุ้มคั่นด้านละซุ้ม ซ้อมกัน 3 ชั้น ลดหลั่นกันลงมาอย่างวิจิตร พระธาตุพนมได้รับการบูรณะเรื่อยมาตามกาลเวลา และในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 องค์พระธาตุพนมได้หักโค่นลง ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศได้ร่วมกันสละทุนทรัพย์ก่อสร้างขึ้นใหม่ และมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม 2522

คำบทสวดบูชาพระธาตุพนม ประจำปีวอก (ตั้งนโม 3 จบ)

ปุริมายะ ทักขิณายะ
ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ
เหฎฐิมายะ อุปะริมายะ
ทิสายะ กะปะณะศิริสะมิง
ปันพะเตมะกัสสะเปนะ ฐาปิตัง
พุทธะอุรังคธาตุง สิระสา
นะมามิ เสตะฉัตตัง
สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง
ปะณีตัง พุทธะ
อุรังคะเจติยัง
อะหังวันทามิ สัพพะทา