พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง (ปีงูเล็ก) ที่ควรมีโอกาสไปกราบสักการะ

พระธาตุประจำปีมะเส็ง
พระธาตุประจำปีมะเส็ง

พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง (ปีงูเล็ก)

พระมหาเจดีย์พุทธคยา (ประเทศอินเดีย)

พระธาตุประจำปีเกิด


ขอบคุณข้อมูลจาก Ayurveda

พระธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และสถานที่ หรือ พระเจดีย์ที่มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ดังนั้น และในชีวิตของเรา ครั้งหนึ่งควรหาโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต


คติการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด
เมื่อคนเราตายไปดวงวิญญาณจะสิงสถิต ที่พระธาตุประจำปีเกิดของแต่ละคนก่อนที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์เพราะฉะนั้นควรจะไปนมัสการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

เพราะเหตุใด พระธาตุประจำปีเกิดจึงต้องอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
ในสมัยก่อน อาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพม่า ต่างเป็นแว่นแคว้นข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันมาก่อน การกำหนดให้มีการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดจึงเป็นกลไกอย่างหนึ่งของการเดินทางติดต่อกันทำให้คนแต่ละเมืองที่อยู่ในเขตวัฒนธรรมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันได้อย่างใกล้ชิดขึ้น

หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนต่างก็ให้ความสำคัญต่อ พระบรมสารีริกธาตุ หรือ กระดูกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระบรมธาตุ หรือ พระธาตุ เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเศษส่วนจากพระวรกายที่เหลืออยู่ไม่มากนัก จึงทำให้ต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในสมัยโบราณมีการประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ใต้เนินดินรูปครึ่งวงกลม แล้วปักฉัตรไว้ด้านบนเพื่อยกย่องและแสดงเกียรติยศของผู้ตายตามธรรมเนียมอินเดียโบราณ

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดและแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุออกไปบูชายังเมืองต่าง ๆ ทำให้มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุขึ้นทั่วไป โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น สถูปเจดีย์สำคัญของบ้านเมืองต่าง ๆ ล้วนได้รับการอธิบายว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมธาตุ

ฉะนั้นบางครั้งจึงนิยมเรียกสถูปเจดีย์เหล่านั้นว่า พระธาตุ ซึ่งหมายถึง พระบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ภายในสถูปเจดีย์นั่นเอง ดังนั้น การไหว้สถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะมีรูปทรงงดงามแปลกพิศดารเพียงใดก็ตาม แต่หัวใจของการไหว้ที่แท้จริงแล้วก็คือ การกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าที่บรรจุอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ดังนั้น การสักการะจึงควรกระทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศตัณหา และที่สำคัญ ต้องระลึกเสมอว่า พระบรมธาตุไม่ใช่ผู้บันดาลสิ่งต่าง ๆ จึงไม่ควรขอสิ่งใดนอกจากสวัสดิมงคล

ในล้านนาทำไมต้องห้ามผู้หญิงขึ้นบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์
เนื่องจากในสมัยโบราณนิยมบรรจุพระบรมธาตุไว้ในกรุที่อยู่ใต้เจดีย์ เมื่อมีความเชื่อว่าผู้หญิงเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์จากการมีรอบเดือน ทำให้มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงอยู่เหนือพระบรมธาตุ แม้ในระยะผิวดินด้านบนก็ตาม ไม่เช่นนั้น จะทำให้พระบรมธาตุเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และไม่แสดงปาฏิหาริย์อีกต่อไป การห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นไปบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่เข้าใจกันดีในหมู่ชาวล้านนา ป้ายที่ติดไว้ตามศาสนสถานสำคัญ ๆ ของชาวล้านนาจึงมีไว้เตือนคนต่างถิ่นให้ทราบและปฏิบัติตาม

 

ปีมะโรง (ปีงูใหญ่)

พระมหาเจดีย์พุทธคยา (อินเดีย) , เจดีย์เจ็ดยอด (เชียงใหม่) ,

พระมหาเจดีย์พระพุทธคยา (พะเยา) , พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ (อุบลราชธานี)

พระธาตุประจำปีเกิด
zoom

ปีมะเส็ง เป็นปีที่หกของปีนักษัตร (ธาตุไฟ) มีสัญลักษณ์เป็นรูป “งูเล็ก” สำหรับพระธาตุประจำปีเกิดนั้นอยู่ไกลนัก นั่นคือพระมหาเจดีย์พระพุทธคยา ประเทศอินเดีย อันเป็นปูชนียสถานที่สำคัญมาแต่โบราณเนื่องจากสถานที่ประดิษฐานจะอยู่ไกล คนโบราณจึงใช้ เจดีย์เจ็ดยอด แห่งวัดโพธารามมหาวิหาร หรือ วัดเจ็ดยอด (เชียงใหม่) แทน และมาภายหลังมีการจำลองพระมหาเจดีย์พระพุทธคยา มาสร้างขึ้นที่ วัดอนาลโย (พะเยา) ซึ่งทำให้คนมีศรัทธา จะไปนมัสการได้ง่ายขึ้น และยังมีพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ วัดหนองบัว (อุบลราชธานี) ทางภาคอีสานอีกด้วย

พระมหาเจดีย์พุทธคยา (ประเทศอินเดีย) สถูปอันสง่างามที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก อันเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น ซึ่งภายในมี องค์หลวงพ่อพระพุทธเมตตา ประดิษฐานอยู่แล้วยังมี ต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา และ โพธิบัลลังก์พระแท่นวัชรอาสน์ ตั้งอยู่ด้านหลังของพระมหาเจดีย์ฯ อีกด้วย มีการสร้างพระมหาเจดีย์มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช และสร้างเติมต่อ ๆ มา โดยกษัตริย์ชาวพุทธในอินเดีย พระองค์ต่อ ๆ มา พุทธศาสนิกชนต่างเพียรพยายามหลั่งไหลเดินทางมาเพื่อนมัสการสถานที่แห่งนี้ สถูปแห่งนี้เป็นที่ระลึกถึงการกำเนิดขึ้นแล้วบนโลกนี้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

เจดีย์เจ็ดยอด (เชียงใหม่)

พระธาตุประจำปีเกิด

เจดีย์เจ็ดยอด (วัดโพธารามมหาวิหาร จ.เชียงใหม่) เป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดของวัดโพธารามมหาวิหาร หรือ วัดเจ็ดยอด เชื่อว่าถ่ายแบบมาจากมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ในประเทศอินเดีย สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 เมื่อ พ.ศ.2020 พระเจ้าติโลกราชโปรดฯ ให้จัดการประชุมพระเถรานุเถระทั่วทุกหัวเมืองในอาจักรล้านนา และทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณ เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้จัดเจนในพระบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระองค์ทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดนี้ใช้เวลาปีหนึ่ง จึงสำเร็จ เป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่ลำดับที่ 8 โดยทำมาแล้วทั้งในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังการวมเจ็ดครั้ง และเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

พระมหาเจดีย์พระพุทธคยา (พะเยา)

พระธาตุประจำปีเกิด

พระมหาเจดีย์พระพุทธคยา (วัดอนาลโยทิพยาราม จ.พะเยา) มีการจำลองพระมหาเจดีย์พระพุทธคยา มาสร้างขึ้นที่ วัดอนาลโย (พะเยา) ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สูงถึงยอดฉัตรทรงอินเดีย 32 เมตร หรือ มีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของเจดีย์พุทธคยาองค์จริงที่ประเทศอินเดีย นับว่าเป็นเจดีย์พุทธคยาที่จำลองแบบได้เหมือนองค์จริงมากที่สุดแห่งหนึ่ง

พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ (อุบลราชธานี)

พระธาตุประจำปีเกิด

พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ (วัดหนองบัว จ.อุบลราชธานี) สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500 โดยได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย นับเป็นวัดเดียวในภาคอีสานที่มีเจดีย์แบบนี้ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ร่มรื่น

คำบทสวดบูชาพระธาตุ ประจำปีมะโรง (ตั้งนโม 3 จบ)

ปะฐะมัง โพธิปัลลังกัง
ทุติยัง อะนิมิสสะกัง
ตะติยัง จังกะมะ
เสฏฐัง จตุตะกัง
ระตะนะฆะรัง ปัญจะมัง
อะชะปาละนิโคธัง ฉัฏฐัง
ราชะยะตะนัง สัตตะนัง มุจจะลิทัง
อะหังวันทามิ ทูระโต
(หรือจะบูชาต้นโพธิ์ตามวัดต่าง ๆ ก็ได้ คำบูชาต้นโพธิ์ “โพธิรุกเขปูชิโน”)