พระธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และสถานที่ หรือ พระเจดีย์ที่มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ดังนั้น และในชีวิตของเรา ครั้งหนึ่งควรหาโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต
คติการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด
เมื่อคนเราตายไปดวงวิญญาณจะสิงสถิต ที่พระธาตุประจำปีเกิดของแต่ละคนก่อนที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์เพราะฉะนั้นควรจะไปนมัสการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
เพราะเหตุใด พระธาตุประจำปีเกิดจึงต้องอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
ในสมัยก่อน อาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพม่า ต่างเป็นแว่นแคว้นข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันมาก่อน การกำหนดให้มีการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดจึงเป็นกลไกอย่างหนึ่งของการเดินทางติดต่อกันทำให้คนแต่ละเมืองที่อยู่ในเขตวัฒนธรรมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันได้อย่างใกล้ชิดขึ้น
หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนต่างก็ให้ความสำคัญต่อ พระบรมสารีริกธาตุ หรือ กระดูกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระบรมธาตุ หรือ พระธาตุ เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเศษส่วนจากพระวรกายที่เหลืออยู่ไม่มากนัก จึงทำให้ต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในสมัยโบราณมีการประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ใต้เนินดินรูปครึ่งวงกลม แล้วปักฉัตรไว้ด้านบนเพื่อยกย่องและแสดงเกียรติยศของผู้ตายตามธรรมเนียมอินเดียโบราณ
ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดและแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุออกไปบูชายังเมืองต่าง ๆ ทำให้มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุขึ้นทั่วไป โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น สถูปเจดีย์สำคัญของบ้านเมืองต่าง ๆ ล้วนได้รับการอธิบายว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมธาตุ
ฉะนั้นบางครั้งจึงนิยมเรียกสถูปเจดีย์เหล่านั้นว่า พระธาตุ ซึ่งหมายถึง พระบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ภายในสถูปเจดีย์นั่นเอง ดังนั้น การไหว้สถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะมีรูปทรงงดงามแปลกพิศดารเพียงใดก็ตาม แต่หัวใจของการไหว้ที่แท้จริงแล้วก็คือ การกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าที่บรรจุอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ดังนั้น การสักการะจึงควรกระทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศตัณหา และที่สำคัญ ต้องระลึกเสมอว่า พระบรมธาตุไม่ใช่ผู้บันดาลสิ่งต่าง ๆ จึงไม่ควรขอสิ่งใดนอกจากสวัสดิมงคล
ในล้านนาทำไมต้องห้ามผู้หญิงขึ้นบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์
เนื่องจากในสมัยโบราณนิยมบรรจุพระบรมธาตุไว้ในกรุที่อยู่ใต้เจดีย์ เมื่อมีความเชื่อว่าผู้หญิงเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์จากการมีรอบเดือน ทำให้มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงอยู่เหนือพระบรมธาตุ แม้ในระยะผิวดินด้านบนก็ตาม ไม่เช่นนั้น จะทำให้พระบรมธาตุเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และไม่แสดงปาฏิหาริย์อีกต่อไป การห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นไปบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่เข้าใจกันดีในหมู่ชาวล้านนา ป้ายที่ติดไว้ตามศาสนสถานสำคัญ ๆ ของชาวล้านนาจึงมีไว้เตือนคนต่างถิ่นให้ทราบและปฏิบัติตาม
ปีเถาะ (ปีกระต่าย) – พระธาตุแช่แห้ง (น่าน)
ปีเถาะ เป็นปีที่สี่ของปีนักษัตร (ธาตุไม้) มีสัญลักษณ์เป็นรูป “กระต่าย” พระธาตุประจำปีเกิดนี้คือ พระธาตุแช่แห้ง แห่งวัดพระธาตุแช่แห้ง อ.เมืองฯ จ.น่าน สกุลช่างเมืองน่านจะปรากฎอิทธิพล ล้านนาจากเมืองเชียงรายแลฃะอิทธิพลของไทลื้อ สำหรับพระธาตุแช่แห้งนี้โดยรวมเป็นลักษณะช่างล้านนา แต่หากลงลึกในรายละเอียดจะพบ ฝีมือช่างพื้นเมืองไทลื้อผสมกันอย่าลงตัว พระธาตุแช่แห้งมีทรงค่อยข้างสูงแต่มีความละมุนละไมจากเส้นรูปทรงแตกต่างไปจากเมืองแพร่
ประวัติพระธาตุแช่แห้ง จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง
คำบทสวดบูชาพระธาตุแช่แห้ง (ประจำปีเถาะ) (ตั้งนโม 3 จบ)
ยาธาตุภูตา อะตุลานุภาวา
จีรัง ปะติฎฐิตา นันทะกัปปะเกปุเร
เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะธาตุง
จิรัง วันทามิ หันตัง
ชินะธาตุโย โสตะถาคะตัง
อะหังวันทามิ สัพพะทา
อะหัง วันทามิ ทูระโต (สวด 3 จบ)